หมวดหมู่

PAP Knowledge (30)
- เช็กเลย! จุดสังเกตสำคัญ มั่นใจได้ท่อเหล็ก มอก.แน่นอน - เปิดโลกท่อเหล็กแปซิฟิกไพพ์
สินค้า มอก.107-2566 มีอะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร?
- เปรียบเทียบชัด! มอก.107-2561 และ มอก. 107- 2566 จุดแตกต่างที่ควรรู้ - ลดสเปกเหล็ก เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต! - สร้างโรงจอดรถ ใช้เหล็กแบบไหน?
เลือกใช้ให้ถูก งบไม่บานปลาย
- Checklist 3 จุดสำคัญ สำรวจบ้านเมื่อฝนมาเยือน - Eddy Current Test
เบื้องหลังความเพอร์เฟกต์ ของท่อเหล็กแปซิฟิกไพพ์
- ประหยัดเวลา ลดต้นทุน! ด้วยบริการแปรรูปท่อเหล็กครบวงจร Steel Solution Service - Did you Know? รู้ไหมฤดูร้อนนี้
เหมาะกับการสร้างบ้านดีที่สุด
- วิธีการดูแลท่อเหล็กไม่ให้เกิดสนิม - ประเภทโครงสร้างหลังคา - คุณสมบัติของเหล็กที่ดี ต้องมีลักษณะอย่างไร - มอก. คืออะไร ท่อเหล็ก PACIFIC PIPE มีไหม - เจาะลึก ”เหล็กกัลวาไนซ์” กับ “เหล็กชุบซิงค์” มีความเหมือนและต่างกันอย่างไร - ก่อนซื้อเหล็ก ควรรู้อะไรบ้าง - เหล็ก เหมาะกับการใช้งานสิ่งก่อสร้างด้านไหนบ้าง - มาตรฐาน “ท่อเหล็กของแปซิฟิกไพพ์” - ความพิเศษ ของท่อเหล็กแปซิฟิกไพพ์ - กว่าจะมาเป็น เหล็ก 1 ต้น ต้องผลิตเหล็กอย่างไร - สร้างบ้านด้วยโครงสร้างเหล็กดีอย่างไร - โครงสร้างหลังคาที่ทำให้บ้านเย็นสบาย - โครงสร้างบ้านรับมือภัยธรรมชาติ - วิธีดูแลท่อเหล็กช่วงหน้าฝน - ท่อชุบสังกะสี VS ท่อชุบสี + การใช้งานที่แตกต่าง ของท่อ 2 แบบ - เลือกเหล็กกล่องอย่างไรให้เข้ากับงาน - สีของสนิมเหล็กบอกอะไรเรา - งานสถาปัตย์ กับโครงสร้างเหล็ก แข็งแรง ทนทาน สวยงามตามจินตนาการ - มาตรฐาน ISO สำคัญแค่ไหนในอุตสาหกรรมเหล็ก - 2 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อคุณสมบัติท่อเหล็ก - Green Building กับการนำเหล็กมาเป็นโครงสร้างดีกว่าเก่าอย่างไร

ลดสเปกเหล็ก เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต!




 

ข่าวอาคารพังถล่ม สะพานขาดกลางคัน หรือเหตุการณ์ร้ายแรงอื่น ๆ ที่เกิดจากการก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง ยังคงเป็นข่าวที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้ง เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะโชคชะตา แต่เกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียว คือ โครงสร้างที่ไม่แข็งแรง นั่นอาจรวมไปถึงการลดสเปกเหล็ก ที่เป็นเรื่องอันตรายและไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนแล้ว ยังสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอีกด้วย หากคุณกำลังคิดจะลดสเปกเหล็ก ลองดูนี่กับ 3 เหตุผลที่จะทำให้คุณเปลี่ยนใจ!

 

3 เหตุผลที่ต้องคิดให้ดี ก่อนตัดสินใจลดสเปกเหล็ก

 

1. โครงสร้างเสี่ยงทรุดตัว

การลดสเปกเหล็ก เป็นการตัดสินใจที่เสี่ยงและอาจนำไปสู่ผลกระทบร้ายแรงได้ หนึ่งในผลกระทบที่เห็นได้ชัดคือ ความเสี่ยงต่อการทรุดตัวของโครงสร้าง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนอย่างมาก อีกทั้งโครงสร้างอาคารจะต้องรับแรงกระทำจากหลายปัจจัย เช่น น้ำหนักของตัวอาคารเอง แรงลม แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว หรือแรงดันจากดิน หากโครงสร้างไม่แข็งแรงพอ ก็อาจไม่สามารถรับแรงเหล่านี้ได้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างโดยตรง นอกจากนี้ เหล็กที่ไม่ได้มาตรฐาน มีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้น ทำให้โครงสร้างยิ่งอ่อนแอลง เสื่อมสภาพเร็วไปอีก ฉะนั้น การลดสเปกเหล็กก็เหมือนกับการสร้างบ้านบนพื้นทราย อาจจะดูประหยัดในตอนแรก แต่ความเสี่ยงที่จะพังทลายก็สูงตามไปด้วย สุดท้ายต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษามากยิ่งขึ้น

2. อันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

สำหรับหลายคนที่เลือกลดสเปกเหล็ก อาจจะคิดเรื่องของการลดค่าใช้เป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้วหากอาคารเกิดความเสียหายจากการใช้เหล็กสเปกต่ำ การซ่อมแซมจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และอาจต้องรื้อถอนอาคารทั้งหลังเพื่อสร้างใหม่ ซึ่งเป็นการสูญเสียทรัพย์สินอย่างมหาศาล หากเราละเลยความสำคัญของการก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน ก็อาจเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตละทรัพย์สินอย่างที่เลี่ยงไม่ได้

เราได้เห็นข่าวอาคารพังถล่มเกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน การใช้เหล็กที่มีคุณภาพต่ำ หรือการออกแบบโครงสร้างที่ไม่เหมาะสม หรือแม้แต่ข่าวในประเทศไทยเองที่เห็นข่าวสะพานพัง ทำให้ชิ้นส่วนคอนกรีตและเหล็กหล่นลงมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการก่อสร้างที่มั่นคงปลอดภัย และการตรวจสอบคุณภาพของวัสดุก่อสร้างอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้าซ้ำรอย

3. ผิดข้อกำหนดทางกฎหมายและมาตรฐาน

การลดสเปกเหล็กยังอาจนำไปสู่การละเมิดกฎหมายที่เข้มงวดในด้านการก่อสร้างได้ หากตัดสินใจลดสเปกเหล็กแล้วเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น อาคารพังทลายหรือเกิดอุบัติเหตุ คุณจะต้องเผชิญกับความรับผิดชอบทางกฎหมายและค่าใช้จ่ายมหาศาล รวมถึงการถูกฟ้องร้องจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ การตัดสินใจเพียงครั้งเดียวอาจกลายเป็นฝันร้ายที่ไม่มีวันจบสิ้น! ซึ่งอ่านมาถึงตรงนี้อาจจะมีคนตั้งคำถามต่อว่า “แล้วการลดสเปกเหล็กในเขตการก่อสร้างของตัวเองผิดไหม?” คำตอบคือ ผิดกฎหมายเช่นกัน ถึงแม้จะเป็นการก่อสร้างในพื้นที่ส่วนตัว แต่ก็ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายอาคารและมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและผู้อื่น มาทำความเข้าใจต่อกันเลยว่า ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้?

  • กฎหมายกำหนดชัดเจน: ประเทศไทยมีกฎหมายและมาตรฐานการก่อสร้างอาคารที่เข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่าอาคารมีความแข็งแรง ปลอดภัย และสามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบไว้ การลดสเปกเหล็กเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเหล่านั้นโดยตรง ตามกฏกระทรวงกำหนดการออกแบบโครงสร้างอาคาร ลักษณะ และคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในงานโครงสร้างอาคาร ซึ่งกฏกระทรวงนี้อยู่ภายใต้กฏหมายควบคุมอาคาร
  • มาตรฐานวิศวกรรม: การออกแบบโครงสร้างอาคารต้องอาศัยหลักวิศวกรรมที่แม่นยำ การคำนวณหาปริมาณเหล็กที่ใช้ต้องตรงตามหลักวิชา เพื่อให้โครงสร้างมีความแข็งแรงพอที่จะรับแรงกระทำต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย การลดสเปกเหล็กเป็นการละเมิดหลักการทางวิศวกรรม
  • ความรับผิดชอบทางแพ่ง: หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเสียหายหรือบาดเจ็บจากการใช้วัสดุที่ไม่ตรงตามมาตรฐาน ผู้รับเหมาและวิศวกรอาจถูกฟ้องร้องหรือรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ตามกฎหมายมาตรา 341 ซึ่งเป็นภาระทางกฎหมายและการเงินที่สำคัญ

ดังนั้น การลดสเปกเหล็กจึงไม่ใช่แค่เรื่องของต้นทุน แต่ยังเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความรับผิดชอบที่สำคัญมากในอุตสาหกรรมการก่อสร้างอีกด้วย เริ่มต้นจากการเลือกใช้วัสดุที่ได้มาตรฐาน มอก. จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการการันตีคุณภาพและความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยให้เราอุ่นใจได้ว่าอาคารที่สร้างขึ้นนั้นมีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถอยู่ได้นาน อีกทั้งการเลือกใช้วัสดุที่ดียังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย แล้วจะมีวิธีตรวจสอบมาตรฐานเหล็ก มอก. อย่างไร? ไม่ยากอย่างที่คิด ไปดูต่อกันเลย!

 

วิธีตรวจสอบมาตรฐานเหล็ก มอก. มั่นใจในคุณภาพ

เพื่อป้องกันเหตุการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จึงมีการกำหนดมาตรฐาน มอก. ขึ้นมา เพื่อเป็นหลักประกันว่าวัสดุก่อสร้างทุกชนิด มีคุณภาพตรงตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น การเลือกใช้เหล็กที่ได้มาตรฐาน มอก. จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการการันตีคุณภาพและความปลอดภัยของเหล็ก ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความแข็งแรงและอายุการใช้งานของอาคารโดยตรงนั่นเอง

  1. ตรวจสอบใบรับรอง: ทุกชิ้นส่วนของเหล็กที่ได้มาตรฐาน มอก. จะมีใบรับรองที่ระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น ชื่อผู้ผลิต ขนาดของเหล็ก จำนวนเส้นต่อมัด เลขที่เตาหลอม วัน/เวลาที่ผลิต และเลขที่ใบรับรอง มอก. แต่ใบกำกับเหล็กจะมากับเหล็กล็อตใหญ่ หากเราสั่งเพียงไม่กี่เส้นหรือใบกำกับหล่นหาย เราสามารถสังเกตได้จากรอยประทับตรา มอก.
  2. สัญลักษณ์เครื่องหมาย มอก.: เหล็กที่ได้มาตรฐาน มอก. จะมีเครื่องหมาย มอก. ปั๊มอยู่บนตัวเหล็กอย่างชัดเจน
  3. การชั่งน้ำหนัก: นำเหล็กที่เราจะตรวจสอบมาตัดให้ได้ขนาด 1 เมตร แล้วเอาไปชั่งน้ำหนัก หากชั่งแล้วน้ำหนักอยู่ในมาตราฐานของ สมอ. แสดงว่าเหล็กนี้ได้มาตราฐาน มอก. หรือเป็นเหล็กเต็ม
  4. ตรวจสอบกับผู้ผลิต: หากไม่แน่ใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ผลิตได้โดยตรง ยกตัวอย่างที่ Pacific Pipe
  5. การตรวจสอบด้วยสายตา: สังเกตลักษณะภายนอกของเหล็ก เช่น สี ผิวสัมผัส และไม่มีรอยแตกหรือสนิม ซึ่งอาจบ่งบอกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยสังเกตจากเงื่อนไข ดังนี้
    • เส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นควรเท่ากันตลอดความยาว ไม่มีส่วนที่บางหรือหนาเกินไป ผิวเหล็กควรเรียบเนียน ไม่มีรอยร้าว รอยปริ หรือร่องลึก
    • หน้าตัดของเหล็กเส้น ควรเป็นรูปทรงที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ไม่มีการบิดเบี้ยวหรือคดงอ
    • สีของเหล็กเส้นควรสม่ำเสมอทั่วทั้งแท่ง ไม่ควรมีสีที่ผิดปกติ เช่น สีสนิม หรือสีที่ซีดจางเกินไป
 

ตัวอย่างของท่อเหล็กที่ได้มาตรฐาน มอก. ของ Pacific Pipe

 

ท่อเหล็กของ Pacific Pipe ผลิตตามมาตรฐาน มอก. อย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นมาตรฐานที่รับรองคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ตรงตามเกณฑ์การวัดดังนี้

  • ขนาดได้มาตรฐาน: เส้นผ่านศูนย์กลาง ความหนา และน้ำหนักของท่อเหล็กของเราตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ทำให้มั่นใจได้ว่าโครงสร้างที่สร้างขึ้นมีความแข็งแรงและทนทาน
  • ผิวเรียบเนียน: ผิวของท่อเหล็กเรียบเนียน ไม่มีรอยปริหรือแตกร้าว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยยืดอายุการใช้งานและป้องกันการเกิดสนิม
  • ตะเข็บมาตรฐาน: ตะเข็บท่อมีความแข็งแรงทนทานผ่านการเชื่อมตะเข็บโดยวิธีที่ทันสมัย ไม่ปริหรือแตกร้าว มั่นใจได้ในความแข็งแรง

ด้วยคุณสมบัติที่ครบครันเหล่านี้ ทำให้ท่อเหล็ก Pacific Pipe เป็นตัวเลือกที่น่าเชื่อถือสำหรับงานก่อสร้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคาร โรงงานอุตสาหกรรม หรือโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ มั่นใจในคุณภาพได้เลย!

Related Knowledge

Loading