แปซิฟิกไพพ์ สนับสนุนนิสิตนักศึกษา ขับเคลื่อนวงการก่อสร้างไทยด้วย Green Construction ในการประกวด BIM Object Green Design Competition 2022
22 กันยายน 2565 บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด (มหาชน) ร่วมสนับสนุนนิสิตนักศึกษาในการประกวด BIM Object Green Design Competition 2022 โดยมีคุณนรา ศรีสุวรรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ผู้แทนบริษัทฯ มอบรางวัลพิเศษแก่ทีมที่เลือกใช้วัสดุ ‘เหล็ก’ จากแปซิฟิกไพพ์ ในการออกแบบ ช่วยตอบโจทย์เรื่องของ Green Construction และเป็นวัสดุที่มิตรต่อสิ่งแวดล้อม ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
วัสดุ ‘เหล็ก’ นับเป็นวัสดุสำหรับงานโครงสร้างและงานระบบ ที่ช่วยลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด เพราะสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ 100% ทั้งยังมีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน มีความยืดหยุนสูง สามารถปรับรูปแบบเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการที่หลากหลายได้อย่างไร้ขีดจำกัด ทั้งยังขนย้ายได้สะดวก ใช้เวลาในการก่อสร้างน้อยกว่า และสามารถลดมลพิษจากฝุ่นในหน้างานก่อสร้างได้มากกว่าเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น
แปซิฟิกไพพ์ เชื่อมั่นในพลังการเปลี่ยนแปลง ความคิดของคนรุ่นใหม่ พร้อมมีส่วนร่วมกับทุกคนในสังคม เพื่อขับเคลื่อนสู่อนาคตที่ดีกว่า ทั้งยังคงมุ่งมั่นในการบูรณาการครบทุกมิติ ด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) เข้ากับกระบวนการดำเนินงานพร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ มาตลอดระยะเวลา 50 ปี สอดคล้องตามพันธกิจของบริษัทฯ ที่ว่า “Your Partner for Total Solutions.”
คุณนรา ศรีสุวรรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
ผู้แทนบริษัทฯ ขึ้นกล่าวถึงการร่วมเป็นผู้สนับสนุนโครงการ
BIM Object Green Design Competition 2022 เป็นโครงการประกวดแบบ BIM ครั้งแรกของประเทศไทย โดย BIM Object Thailand ร่วมกับ CPAC Green Solution เพื่อส่งเสริมให้ภาคสถาบันการศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบสิ่งก่อสร้างที่ยกระดับคุณภาพชีวิตตอบรับกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ด้วยความยั่งยืน ขับเคลื่อน Green Construction ของประเทศไทย ผ่านการให้ความรู้เชิงปฏิบัติงานจริง ด้วยการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาออกแบบและก่อสร้างเป็น Green Co-Living Space ประยุกต์ใช้กระบวนการ (BIM) และระบบการก่อสร้างแบบ Modular
ผลงานที่เลือกใช้วัสดุ ‘เหล็ก’ จากแปซิฟิกไพพ์ ในการออกแบบ
• ผลงานจากทีม “Gang Arch” มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โครงการ “Green for life” ออกแบบโดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเน้นการสร้างบรรยากาศของธรรมชาติโดยรอบและจัดให้พื้นที่สีเขียวเป็นจุดเชื่อมโยงของพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็น Public space สำหรับผู้อยู่อาศัยในอาคาร ส่งผลให้รูปทรงของอาคารถูกออกแบบให้สัมผัสกับพื้นที่สีเขียวให้ได้มากที่สุด วัสดุที่เลือกใช้ในการออกเเบบจะเป็นเหล็กส่วนใหญ่รวมถึงส่วนที่เป็น Facade ใช้เป็นวัสดุเหล็กของแปซิฟิกไพพ์ ในการช่วยลดทอนแสงที่รอดผ่านเข้ามาช่วยเสริมบรรยากาศที่ดีและเกิดระนาบของแสงเงา
“การคำนึงถึงผลกระทบหรือผลเสียที่มีต่อสิ่งแวดล้อมจัดเป็นปัจจัยสำคัญของงานสถาปัตยกรรม วิธีออกแบบอย่างไรจึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือออกแบบอย่างไรให้ผู้คนได้อยู่กับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ผู้ออกแบบจำเป็นต้องหาคำตอบเพื่อให้งานสถาปัตยกรรมนั้นทรงคุณค่าและน่ายกย่อง” นายภานุวัฒน์ พจนสิทธิ์ ตัวแทนจากทีม Gang Arch กล่าว
• ผลงานจากทีม Rainy day มหาวิทยาลัยพะเยา
โครงการ CPAC GREEN SOLUTION มากับ Concept Adjusting for Future การปรับตัว เพื่อการอยู่รอดสำหรับคนรุ่นใหม่ ให้มีพื้นที่ที่ยืดหยุ่นต่อการปรับตัว สามารถลดหรือเพิ่มพื้นที่การใช้งานตามสถานการณ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงนำเอาสถาปัตยกรรม metabolism มาปรับใช้เพื่อแสดงถึงการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดในอนาคต
“โครงสร้างเหล็กเป็นวัสดุที่ทำให้บริเวณไซต์งานดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ลดความยุ่งยากของงานก่อสร้างและไม่ก่อฝุ่นมลภาวะที่ทำให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม จึงเหมาะกับโครงการนี้ที่สอดคล้องกับแนวคิดการแสดงความงามของวัสดุอย่างตรงไปตรงมา ก่อสร้างง่าย แข็งแรง เสร็จรวดเร็ว อีกทั้งเหล็กมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ก่อสร้างได้ง่ายแม้ในพื้นที่จำกัดและรวดเร็ว สามารถรับแรงสั่นสะเทือนและรับแรงแผ่นดินไหวได้ดีกว่าโครงสร้างระบบอื่น สามารถดัดแปลงต่อเติมหรือสร้างใหม่โดยไม่ต้องทุบทิ้ง ที่สำคัญมันสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ ” นายเกษตร อุตสม ตัวแทนจากทีม Rainy กล่าว