โครงสร้างบ้านรับมือภัยธรรมชาติ
ภัยธรรมชาติเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ถูกนำมาพูดถึงมากขึ้นเมื่อเริ่มต้นโครงการก่อสร้าง อาคาร บ้านเรือน ที่พักอาศัย ปัจจุบันการก่อสร้างต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านความปลอดภัยและการรับมือภัยธรรมชาติหรืออุบัติภัยอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นดินไหว ไฟไหม้ พายุฝน ลมแรง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและอื่นๆ เพื่อให้โครงการก่อสร้างมีความแข็งแรง ทนทาน และยังคงความสวยงามของสถาปัตยกรรมเอาไว้มากที่สุด มีจุดสำคัญในการก่อสร้างที่ควรให้ความสำคัญดังนี้
ความยาวของเสาเข็ม
ความยาวของเสาเข็มต้องเหมาะสมกับพื้นที่ก่อสร้างอาคาร หรือบ้านเรือน หากก่อสร้างในพื้นที่ที่ดินไม่แข็งแรง ไม่หนาแน่นพอ ควรออกแบบให้เสาเข็มมีความยาวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการเสียหายของหน้าดินที่จะส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง
รอยต่อผนัง
ผนังของอาคาร บ้านเรือนไม่ควรประกอบด้วยวัสดุก่อสร้างหลากหลายประเภทมากจนเกินไป เพราะเมื่อมีรอยต่อของผนังมากเกินไปจุดนี้จะกลายเป็นจุดที่โครงสร้างไม่แข็งแรง มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้ก่อนส่วนอื่นๆและก่อให้เกิดความเสียหายไปยังส่วนอื่นๆด้วย ดังนั้นควรพิจารณาเลือกใช้วัสดุทำผนังที่มีรอยต่อน้อย หรือวัสดุทำผนังประเภทเดียวและความยืดหยุ่นสูง
แยกโครงสร้างอาคาร
การก่อสร้างอาคารที่มีส่วนเชื่อมต่อกันเป็นรูปตัวแอล (L) ตัวยู (U) ตัววาย (Y) และอื่นๆ โดยไม่แยกตัวอาคารออกจากกันมึความโอกาสที่จะก่อให้เกิดความเสียหายได้มากกว่า เพราะเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ เช่น พายุฝน ลมแรง ตัวอาคารอาจจะได้รับความเสียหาย หรือถูกพัดพาไปแล้วก็ให้เกิดความเสียหายไปยังส่วนอื่นๆ ดังนั้นควรสร้างบ้านหรืออาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแยกจากกันจะปลอดภัยจากพายุมากกว่า
การเลือกใช้กระจก
เพื่อความปลอดภัยสูงสุดควรหลีกเลี่ยงการนำกระจกมาเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ควรเลี่ยงการใช้กระจกเป็นประตู หน้าต่างขนาดใหญ่ เพราะกระจกมีความเปราะบาง แตกหักง่าย เมื่อเกิดภัยธรรมชาติกระจกอาจได้รับแรงกระแทกจนเกิดความเสียหายและนำมาซึ่งอุบัติเหตุจากเศษกระจกได้ ควรเลือกใช้ไม้ อะลูมิเนียม เหล็ก หรือพลาสติกเป็นวัสดุทดแทน แต่หากจำเป็นต้องใช้กระจก ควรเลือกใช้กระจกนิรภัย ด้วยคุณสมบัติแตกละเอียดเป็นเม็ดเล็กๆ หรือเลือกกระจกลามิเนตที่มีชั้นฟิล์มอยู่ตรงกลางเมื่อแตกแล้วจะไม่หล่นลงมาเพราะมีฟิล์มป้องกันอยู่อีกชั้นหนึ่ง
โครงสร้างเหล็กที่ปลอดภัย
ในพื้นภัยพิบัติแผ่นดินไหวหรือพื้นที่ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว มักเลือกใช้โครงสร้างเหล็กเป็นโครงสร้างอาคาร โดยเฉพาะโครงสร้างหลังคา ด้วยคุณสมบัติของโครงสร้างเหล็กที่แข็งแรง ทนทานแต่มีน้ำหนักเบา เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวแล้วโครงสร้างส่วนบนอาจถล่มลงมาได้ โครงสร้างเหล็กจะทำให้อาคารได้รับความเสียหายน้อยกว่าโครงสร้างที่มีน้ำหนักมาก เช่น โครงสร้างคอนกรีต อีกทั้งโครงสร้างเหล็กยังยืดหยุ่นได้ดีและทนต่อแรงสั่นสะเทือน จึงนิยมใช้ท่อเหล็กรูปพรรณเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับตำแหน่ง คาน เสา ทำให้โครงสร้างเหล็กช่วยพยุงน้ำหนักและโครงสร้างของอาคารได้ดีกว่าวัสดุก่อสร้างอื่นๆ
เพื่อความปลอดภัยในการใช้โครงสร้างเหล็ก ควรเลือกใช้เหล็กที่ผ่านการควบคุมการผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานอุตสหกรรมรับรอง แข็งแรง ทนทาน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญของโครงการก่อสร้าง เลือกใช้โครงสร้างเหล็กจาก PACIFIC PIPE ให้คุณมั่นใจในคุณภาพ มีเหล็กหลากหลายเหมาะกับทุกการใช้งาน